การสถาปนาสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา (2522 – 2532) ของ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา

ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2522 กองทัพเขมรแดงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และกองทัพเวียดนามเข้ายึดครองพนมเปญได้ แนวร่วมปลดปล่อยฯได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา ซึ่งเป็นการปกครองที่นิยมโซเวียตได้รับการสนับสนุนจากกองทัพและที่ปรึกษาพลเรือนจากเวียดนาม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชายุติลง แต่จีนที่สนับสนุนเขมรแดงและสหรัฐต้องการให้ขับไล่เวียดนามออกไปจากกัมพูชา ทำให้เกิดปัญหากัมพูชาขึ้น[12]

นอกจากการสนับสนุนการรุกรานและการควบคุมของเวียดนามแล้ว รวมทั้งการสูญเสียเอกราชในระหว่างนี้[13] ระบอบใหม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนที่หวาดกลัวเขมรแดง[14] แต่เมืองหลวงคือพนมเปญก็ต้องตกอยู่ในความว่างเปล่า เพราะทหารเวียดนามขนส่งสินค้ากลับไปเวียดนาม ภาพพจน์ด้านนี้ถูกนำไปเผยแพร่โดยฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา[15] อย่างไรก็ตาม การคงอยู่ของกองทัพเวียดนามก็มีประโยชน์ในการบูรณะเมืองใหม่หลังจากถูกเขมรแดงทำลายไปโดยสิ้นเชิง[16]

สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่งสืบต่อการปฏิวัติสังคมนิยมโดยเขมรแดง เพียงแต่เขมรแดงใช้นโยบายแบบลัทธิเหมาและใช้ความรุนแรง แต่สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาใช้การปฏิวัติสังคมนิยมตามแบบของสหภาพโซเวียตและโคเมคอน สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาเป็นประเทศสังคมนิยมที่ยังไม่พัฒนา 1 ใน 6 ประเทศ[17] สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาได้ยอมรับความหลากหลายของสังคมกัมพูชา ทั้งชาวไทย ชาวจาม ชาวเวียดนามและชนเผ่าทางตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวจีนในกัมพูชาถูกมองว่าเป็นกลุ่มของศัตรูและอยู่ในความควบคุม การพูดภาษาจีนกลางและภาษาจีนแต้จิ๋วเป็นสิ่งต้องห้าม เช่นเดียวกับสมัยของพล พต[18] อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงยังคงมีอยู่ในสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา Rudolph Rummel ประมาณว่ามีอาชญากรรมที่ก่อโดยรัฐบาลจนมีผู้เสียชีวิตประมาณ 230,000 คนในช่วง พ.ศ. 2522 - 2530[19]

การฟื้นฟูวัฒนธรรมและศาสนา

นักเรียนทุนแลกเปลี่ยนชาวเขมรที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา Meak Chanthan และ Dima Yim (คนที่ 3 ยืนจากทางซ้าย) ที่เมือง แฟรงก์เฟิร์ต อัน เดอ โอเดอร์ (เยอรมนีตะวันออก) ในปี ค.ศ. 1986

ภารกิจที่สำคัญของสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาคือการฟื้นฟูพุทธศาสนา มีการบูรณะวัด และให้พระสงฆ์เข้าจำพรรษา ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2522 พระสงฆ์จำนวน 7 รูป เข้ามาจำพรรษาที่วัดอุณาโลมในกรุงพนมเปญอีกครั้ง และมีการบวชพระใหม่ในกัมพูชา ระหว่าง พ.ศ. 2522 – 2524 เริ่มจากในพนมเปญแล้วจึงกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ มีการซ่อมแซมวัดมากกว่า 700 แห่ง จากวัดทั้งหมดราว 3,600 แห่งที่ถูกทำลายไปและมีการเฉลิมฉลองเทศกาลทางศาสนา[20] ปัญญาชนจำนวนมากถูกกำจัดไปในสมัยเขมรแดง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการฟื้นฟูประเทศ คนที่มีการศึกษาจำนวนมากหนีออกมาด้วยการเดินเท้า เข้าสู่ค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดน แล้วจึงอพยพไปยังโลกตะวันตก[21] การบริหารของสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะระบบต่าง ๆ ในประเทศถูกทำลายลงไปจนหมด ทุกสิ่งค่อย ๆ สร้างขึ้นมาใหม่อย่างช้า ๆ การขาดผู้มีความรู้และทักษะเป็นปัญหาสำคัญในการฟื้นฟูประเทศ

วัฒนธรรมของกัมพูชาฟื้นตัวขึ้นอย่างช้า ๆ โรงภาพยนตร์เปิดฉายอีกครั้ง ส่วนใหญ่มาจากเวียดนาม สหภาพโซเวียต และประเทศสังคมนิยมในยุโรปตะวันออก รวมทั้งภาพยนตร์จากอินเดีย ภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะสมกับการปกครองระบอบโซเวียต เช่นภาพยนตร์จากฮ่องกงถูกห้ามฉาย นักถ่ายทำภาพยนตร์และนักแสดงจำนวนมากในช่วง พ.ศ. 2503 – 2513 ส่วนใหญ่ถูกฆ่าตายในสมัยเขมรแดงหรืออพยพออกไป ฟิล์มและสิ่งพิมพ์จำนวนมากถูกทำลาย ขโมย หรือสูญหายไป ที่เหลืออยู่ก็มีคุณภาพไม่ดี[22] อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของกัมพูชาได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นช้า ๆ

การโฆษณาชวนเชื่อ

สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาต้องมีการโฆษณาชวนเชื่ออย่างมากในการสร้างประเทศใหม่ ส่งเสริมความเป็นเอกภาพและสถาปนาระบอบการปกครองของตนขึ้นมา ผู้ที่รอดชีวิตจากสมัยเขมรแดงจะมีแต่ความหวาดกลัวและความไม่แน่นอนโดยเฉพาะการที่หวาดกลัวว่าเขมรแดงจะได้ครองอำนาจอีกครั้ง ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่มีความหวาดกลัวในจิตใจและคิดว่าจะไม่รอดชีวิตถ้าเขมรแดงคืนสู่อำนาจอีก สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาได้กระตุ้นให้ประชาชนปลดแอกตัวเองโดยการโค่นพล พตลงจากอำนาจ มีการแสดงหัวกะโหลกและกระดูก ภาพถ่ายและภาพวาดเกี่ยวกับความโหดร้ายของเขมรแดงเพื่อใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ มีการจัดพิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตวล แซลง ที่คุกตวล แซลงในสมัยกัมพูชาประชาธิปไตย มีการกำหนดวันแห่งความเกลียดชังเพื่อต่อต้านเขมรแดงและประกาศคำขวัญว่า “เราต้องทำทุกอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้ยุคมืดของเชมรแดงกลับมาอีก”[23]

การฟื้นฟูใหม่

ชาวกัมพูชามากกว่า 600,000 คนต้องอพยพออกจากเมืองในยุคเขมรแดงจนในเมืองว่างเปล่า หลังการรุกรานของเวียดนาม ชาวกัมพูชาที่เคยถูกกวาดต้อนมาอยู่ในคอมมูนเป็นอิสระและกลับไปสู่บ้านเดิมเพื่อตามหาครอบครัวและญาติสนิทที่พลัดพรากกันไป หลังจากระบบคอมมูนถูกยกเลิก ประชาชนจำนวนมากไม่มีอาชีพและไม่มีอาหารเพียงพอ ใช้เวลานานถึง 6 เดือนในการอพยพประชาชนกลับสู่พนมเปญ มีการซ่อมแซมระบบไฟฟ้า น้ำประปา สาธารณสุข ซ่อมแซมถนนและกำจัดขยะ

มีการทำลายระบบทางสัมอย่างมากในปีศูนย์ (พ.ศ. 2518 – 2522) การเริ่มต้นใหม่ของกัมพูชาเป็นไปอย่างยากลำบาก ไม่มีตำรวจ ไม่มีหนังสือพิมพ์ ไม่มีโรงพยาบาล ไม่มีไปรษณีย์ และระบบโทรศัพท์ ไม่มีกฎหมายและเครือข่ายทางการค้าทั้งของรัฐและเอกชน[24] ทำให้กัมพูชาขณะนั้นอยู่ในสภาพสิ้นหวัง ชาติตะวันตก จีนและอาเซียนปฏิเสธที่จะช่วยฟื้นฟูกัมพูชา จีนและสหรัฐปฏิเสธการรับรองสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาในระดับนานาชาติ ทำให้สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ ความช่วยเหลือส่วนใหญ่มาจากโลกคอมมิวนิสต์แต่บางประเทศเช่น โรมาเนียก็ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือ.[16] ความช่วยเหลือจากนานาชาติส่วนใหญ่มุ่งตรงมายังค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย[25]

การเพิ่มจำนวนผู้อพยพ

ค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนกัมพูชา พ.ศ. 2522 - 2527

ด้วยภาพของประเทศที่ล่มสลายและปฏิเสธการรับความช่วยเหลือในการสร้างชาติใหม่ และถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของเวียดนามที่เป็นมิตรกับสหภาพโซเวียต มีชาวกัมพูชาจำนวนมากอพยพมายังค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย ซึ่งเป็นที่ที่มีความช่วยเหลือจากนานาชาติโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา[26] ในจุดหนึ่ง มีชาวกัมพูชาอยู่มากกว่า 500,000 คน ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และมีอีกราว 100,000 คน ในศูนย์อพยพภายในประเทศไทย ความช่วยเหลือจากยูนิเซฟและโปรแกรมอาหารโลกมีถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐระหว่าง พ.ศ. 2522 – 2525 และเป็นกลยุทธหนึ่งของสหรัฐระหว่างสงครามเย็นเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวียดนามคิดเป็นเงินเกือบ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[27]

ในขณะที่กองทัพเขมรแดงของพล พตได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นใหม่และได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากจีน รวมทั้งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพไทย[28] เขมรแดงได้ประกาศต่อต้านสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา โดยอาศัยฐานกำลังจากค่ายผู้อพยพและจากกองทหารที่ซ่อนตัวตามแนวชายแดนไทย แม้ว่ากองกำลังของเขมรแดงจะมีความโดดเด่นขึ้นมา แต่มีกลุ่มต่อต้านที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์เกิดขึ้นด้วย ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เคยต่อสู้กับเขมรแดงหลัง พ.ศ. 2518 กลุ่มเหล่านี้ได้แก่ อดีตทหารในสมัยสาธารณรัฐเขมรได้ประกาศจัดตั้งกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมรที่นำโดยซอน ซาน อดีตนายกรัฐมนตรี และมูลินนากา (ขบวนการเสรีภาพแห่งชาติกัมพูชา) ที่จงรักภักดีต่อพระนโรดม สีหนุ ใน พ.ศ. 2522 ซอน ซานได้จัดตั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมรในการต่อสู่เพื่อเอกราชของกัมพูชา ส่วนพระนโรดม สีหนุ ได้จัดตั้งองค์กรของฝ่ายพระองค์คือพรรคฟุนซินเปกและกองทัพเจ้าสีหนุ ใน พ.ศ. 2524 แต่การต่อต้านของฝ่ายที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ไม่เคยมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ในสงครามกลางเมืองช่วงที่เหลือต่อไปนี้จึงเป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายเขมรแดงกับฝ่ายรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่[29]

ในช่วงที่สงครามกลางเมืองดำเนินไป กองทัพเวียดนามประมาณ 200,000 คน เข้าควบคุมศูนย์กลางและเขตชนบทของประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2522 – เดือนกันยายน พ.ศ. 2532 ในขณะที่ทหารของฝ่ายเฮง สำรินมีเพียง 30,000 คน และมีบทบาทน้อยในการรักษาความสงบของประเทศ

การเติมเชื้อไฟให้สงครามกลางเมือง

ภูเขาตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาทางเหนือของถนนระหว่างศรีโสภณ และอรัญประเทศ พื้นที่หนึ่งที่เขมรแดงซ่อนตัวระหว่างการสู้รบตามแผน k5

กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชาจำนวนมากที่อำเภออรัญประเทศถูกผลักดันให้กลับเข้าประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2523 และส่วนใหญ่ต้องเข้าไปอยู่ในเขตควบคุมของเขมรแดง กระบวนการนี้เกิดขึ้นโดยกลุ่มที่นิยมกัมพูชาประชาธิปไตยแต่เข้ามาปรากฏตัวในฐานะอาสาสมัคร รวมทั้งการที่สหรัฐต่อต้านระบอบของเวียดนาม นอกจากนั้น ประเทศต่าง ๆ เช่น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ยังสนับสนุนให้มีการผลักดันประชาชนให้กลับไปต่อสู้[30]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 การต่อสู้ในสงครามกลางเมืองเป็นไปตามจังหวะของฤดูฝนและฤดูแล้ง กองทัพเวียดนามจะโจมตีในฤดูแล้ง กองทัพที่สนับสนุนโดยจีนและสหรัฐจะโจมตีในฤดูฝน ใน พ.ศ. 2525 เวียดนามได้โจมตีฐานที่มั่นของเขมรแดงที่พนมมาลัยและเทือกเขาบรรทัดแต่ไม่สำเร็จมากนัก ในฤดูแล้ง พ.ศ. 2527 – 2528 เวียดนามได้โจมตีฐานที่มั่นของกลุ่มต่อต้านทั้งสามกลุ่มอย่างหนัก โดยเวียดนามประสบความสำเร็จในการโจมตีฐานที่มั่นของเขมรแดงให้ถอยร่นเข้าสู่แนวชายแดนไทย แผนที่เวียดนามใช้ในการสู้รบคือแผน K5 ที่กำหนดโดยนายพลเล ดึ้ก แอ็ญ[31] ซึ่งเป็นการป้องกันการก่อการร้ายเข้าสู่กัมพูชาผ่านทางชายแดนไทย

หากไม่มีความช่วยเหลือจากเวียดนาม โซเวียตและคิวบา เฮง สัมรินมีความสำเร็จน้อยในการจัดตั้งระบอบสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา เนื่องมาจากสงครามกลางเมืองยังไม่ยุติ การคมนาคมมักถูกโจมตี การปรากฏของทหารเวียดนามทั่วประเทศได้เติมเชื้อไฟให้กับการต่อต้านเวียดนาม โดยจำนวนชาวเวียดนามในสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาทั้งที่อยู่มาก่อนและอพยพเข้ามาใหม่คาดว่ามีประมาณ 1 ล้านคน

ใน พ.ศ. 2529 ฮานอยได้กล่าวอ้างว่าจะเริ่มถอนทหารเวียดนามออกมา ในขณะเดียวกันเวียดนามเร่งสร้างความเข็มแข็งให้กับสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชาและกองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชา การถอนทหารยังคงต่อเนื่องไปอีก 2 ปี โดยไม่สามารถทราบจำนวนที่แท้จริงได้ แผนการถอนทหารเวียดนามถูกกดดันมากขึ้นในช่วง พ.ศ. 2532 – 2533 เพราะสหรัฐและจีนเข้ามากดดันมากขึ้น และสหภาพโซเวียตงดให้ความช่วยเหลือ ทำให้กัมพูชาต้องปฏิรูปเศรษฐกิจและรัฐธรรมนูญเพื่ออนาคตทางการเมือง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2532 รัฐบาลฮานอยและพนมเปญออกมาประกาศว่าการถอนทหารจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนของปีนี้

ใกล้เคียง

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณสมบัติ สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สาธารณรัฐเท็กซัส สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี สาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐประชาชนยูเครน

แหล่งที่มา

WikiPedia: สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา http://www.peacemakers.ca/research/Cambodia/Cambod... http://www.clermont-filmfest.com/03_pole_regional/... http://www.country-data.com/cgi-bin/query/r-2238.h... http://country-studies.com/cambodia/major-politica... http://www.informaworld.com/index/789073072.pdf http://homepage3.nifty.com/thuan/audio/khm_pr.mid http://www.photius.com/countries/cambodia/governme... http://www.websitesrcg.com/border/documents/Refuge... http://khmernews.wordpress.com/2007/08/03/five-kr-... http://www.hawaii.edu/powerkills/DBG.TAB9.1.GIF